อัตราค่าปรับ ยื่นงบการเงินล่าช้า หรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน

ค่าปรับยื่นงบการเงินเกินกำหนดเวลาหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน จะมี 2 ส่วน คือ

1. ค่าปรับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือ หมายเรียกตำรวจ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)

กรณีมิได้ยื่นงบการเงิน
1.1 อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
1,000
1,000
2,000
2
บริษัทจำกัด
1,000
1,000
2,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
2,000
2,000
4,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
2,000
2,000
4,000
5
กิจการร่วมค้า
2,000
2,000

1.2 อัตรค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
4,000
4,000
8,000
2
บริษัทจำกัด
4,000
4,000
8,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
24,000
24,000
48,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
24,000
24,000
48,000
5
กิจการร่วมค้า
24,000
24,000

1.3 อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4 เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ลำดับที่
ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
อัตราค่าปรับ
รวม
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ/
ผู้รับผิดชอบในการดำเนินงาน
1
ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
6,000
6,000
12,000
2
บริษัทจำกัด
6,000
6,000
12,000
3
นิติบุคคลต่างประเทศ
36,000
36,000
72,000
4
บริษัทมหาชนจำกัด
36,000
36,000
72,000
5
กิจการร่วมค้า
36,000
36,000
  • ค่าปรับกรณีมิได้ยื่นงบการเงิน มีอายุความ 1 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดยื่นงบการเงิน 
  • กรณีที่เป็นบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี เพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี และจะต้องนำไปยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือนนับจากวันประชุม

1. ถ้าประชุมทันตามกำหนดภายใน 4 เดือน แต่นำส่งงบการเงินไม่ทันภายใน 1 เดือน จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกรรมการผู้จัดการ (ตามตารางข้างต้น)
2. ถ้าประชุมเกินกำหนดเวลา ก็จะเป็นกรณี “ไม่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือน นับแต่วันที่ลงในงบดุล” จะถูกเรียกเก็บค่าปรับทั้งในส่วนของบริษัท 6,000 บาท และกรรมการผู้มีอำนาจ โดยคำนวณตามจำนวนกรรมการที่ลงชื่อผูกพันบริษัทคนละ 6,000 บาท
3. กรณีไม่นำส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งตามกฎหมายต้องส่งภายใน 14 วันนับจากวันประชุมใหญ่สามัญประจำปี ซึ่งหากมิได้นำส่งตามกำหนดดังกล่าวมีโทษเปรียบเทียบปรับกรรมการคนละ 2,000 บาท

2. ค่าปรับกรมสรรพากร

  • ค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนด ไม่เกิน 2,000 บาท (ปกติต้องยื่นภงด.50 ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบบัญชี) 
  • ยื่นแบบไม่เกิน 7 วัน 1,000 บาท 
  • ยื่นแบบเกิน 7 วัน 2,000 บาท 
  • ค่าปรับอาญาไม่ยื่นงบการเงิน 2,000 บาท 
  • เงินเพิ่ม ชำระในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีมีภาษีที่ต้องชำระ • อายุความเปรียบเทียบปรับอาญา 1 ปี

รายละเอียดเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป

2. บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบบัญชี แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันสิ้นรอบบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป (มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท)

**งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่

ตัวอย่างเช่น

  • ประชุมเมื่อวันที่ 28 กุมพาพันธ์ จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 31 มีนาคม
  • ประชุมเมื่อวันที่ 7 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 7 เมษายน

คำเตือน

  • ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ยื่นงบการเงินหรือยื่นล่าช้าเกินกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท และปรับผู้มีอำนาจทำการแทนกิจการอีกไม่เกิน 50,000 บาทด้วย ทั้งนี้ กรมฯ ได้กำหนดอัตราค่าปรับตามระยะเวลาที่ยื่นงบการเงิน หากยื่นงบการเงินล่าช้า อัตราค่าปรับก็จะเพิ่มขึ้น

ขอบคุณบทความจาก :: www.dbd.go.th